วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ที่มาของขนมไทย

             สมัยสุโขทัยขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ คือ 
จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย
สมัยอยุธยา เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วั
ตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง 

           หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า" "ท้าวทองกีบม้า"หรือ "มารี กีมาร์" เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ "ฟานิก (Phanick)" เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ "อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)" ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่นานนัก ชีวิตช่วงหนึ่งของ "ท้าวทองกีบม้า" ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง "หัวหน้าห้องเครื่องต้น" ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่า "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า" จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิดให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ "ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย"


แหล่งที่มา :  http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-4/no16-20-34/kanomthai/sec02p03.html

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทคนิคในการทำคุ้กกี้

1.วัตถุดิบหลักในการทำคุกกี้ก็คือเนยสดหรือมาร์การีนำ การเลือกใช้เนยสดนั้น ควรใช้เนยสดชนิดเค็ม เนื่องจากคนไทยชอบทานขนมรสชาติเข็มข้น ถ้าใช้เนยสดชนิดจืดตอ้งเพิ่มปริมาณของเกลือป่นมากกว่าในสูตรที่ให้ไป
2.การเลือกใช้ไขมันในการทำคุกกี้นั้นสามารเลือกใช้ได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นเนยสด มาร์การีนหรือเนยขาว เนยสดให้กลิ่นและรสชาติดีที่สุดแต่ต้นทุนในการผลิตแพง มาร์การีนให้รสชาติของขนมลองลงมาท้ายที่สุดก็คือเนยขาว ถ้าใช้เนยขาวล้วนในการทำจะทำให้คุกกี้มีลักษณะโปร่งเบามากเกินไป เวลาอบสุกผิวของขนมจะเป็นขุยเปราะหักง่าย กลิ่นและรสชาติด้อยไม่อร่อย ดังนั้นจึงไม่นิยมนำเนยขาวขาวล้วนมาทำคุกกี้ ถ้าต้องการลดต้นทุนในการผลิตอาจใช้เนยสดผสมมาร์การีนหรือใช้มาร์การีนล้วน แล้วแต่งกลิ่นนมเนยช่วย ก็จะทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง3.การเริ่มต้นในการทำคุกกี้ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากการตีเนยสดกับน้ำตาล เนื่องจากบ้านเรามีอากาศร้อน ถ้าใช้เนยสดทำขนมควรนำเนยสดออกมาตีในขณะที่ยังเย็นอยู่ ถ้าเนยสดอ่อนตัวมากเกินไปเนยจะไม่เก็บอากาศคุกกี้จะมีลักษณะแข็ง
4.การตีเนยกับน้ำตาลทราย ถ้าตีน้อยเกินไปจะทำให้คุกกี้มีลักษณะดังนี้
- ส่วนผสมข้นเกินไป เหนียว บีบยาก
- ขนมที่อบสุกมีขนาดเท่าเดิม ไม่ขยายตัว
- ขนมที่สุกมีลักษณะแข็ง ไม่กรอบร่วน
5.ตีเนยสดกับน้ำตาลทรายมากเกินไป
- ส่วนผสมเหลวบีบง่าย
- ขนมที่อบสุกมีการแผ่ขยายมากเกินไป ลักษณะของขนมแบน
- เนื้อของขนมที่อบสุกหยาบ กรอบ ร่วนมากเกินไป
ดังนั้นในขั้นตอนของการตีเนยสดกับน้ำตาลทรายนั้น ต้องอาศัยความชำนาญหรือประสบการณ์ในการทำพอสมควร เนื่องเพราะว่า การทำคุกกี้ให้มีลักษณะที่ดีนั้นจะขึ้นอยู่กับเวลาในการตีเนยกับน้ำตาลทราย การจับเวลาในการที่เนยสดนั้นจะขึ้นอยู่กับความเย็นของก้อนเนย เนยที่เย็นจะขึ้นฟูเร็ว เนยเหลวขึ้นฟูช้า ยิ่งตีนานก็ยิ่งเหลว ฉะนั้นทุกครั้ง ที่จะนำเนยออกมาตีนั้นควรให้เนยมีลักษณะเย็นอยู่เสมอ
6.ความเร็วของเครื่องในการตีเนย ถ้าใช้สปีดช้าไปเกิดอากาศ ยิ่งตีนานยิ่งเหลว ดังนั้นควรตีเนยด้วยความเร็วของเครื่องระดับปานกลางขึ้นไป หรือถ้าใช้ความเร็วสูงก็ใช้ระยะเวลาในการตีให้สั้นลง
7.การใช้อุปกรณ์ในการตีเนย ถ้าใช้หัวตะกร้อระยะเวลาในการตีเนยสั้นขึ้นฟูเร็วกว่าการใช้หัวใบไม้ แต่ถ้าเนยสดมีลักษณะแข็งเกินไป อาจทำให้เส้นตะกร้อขาดได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ความเร็วต่ำก่อนตีเพื่อให้เนยอ่อนตัว แล้วจึงค่อยใช้ความเร็วสูงเพื่อให้เนยขึ้นฟู
8.การใส่ไข่ควรใช้ไข่ที่เย็น ควรใส่ไข่เมื่อตีเนยสดกับน้ำตาลทราย จนกระทั่งขึ้นฟูขาวเล็กน้อยแล้วจึงใส่ไข่แล้วตีต่อให้ขึ้นฟูจะช่วยทำให้ระยะเวลาในการตีเนยสดให้ฟูเร็วขึ้น
9.ระยะเวลาในการตีเนยสดกับน้ำตาลทราย ถ้าใช้น้ำตาลทรายไม่จำเป็นจะต้องตีเนยสดกับน้ำตาลทราย จนกระทั่งน้ำตาลทรายละลายหมด การใส่ไข่เร็วจะช่วยให้น้ำตาลละลายให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันควรเลือกซื้อน้ำตาลทรายเม็ดเล็กๆ ก็จะช่วยในการทำให้น้ำตาลละลายได้เร็วขึ้น ระยะเวลาในตีเนยกับน้ำตาลถ้าตีนานเกินไปจะทำให้เนื้อคุกกี้โปร่งพองมากเกินไปและถ้าใช้น้ำตาลเม็ดใหญ่ เมื่อขนมอบสุกก็จะมีเม็ดน้ำตาลหลงเหลืออยู่บนหน้าของขนม
10.การใส่แป้งลงในส่วนผสม ไม่ควรจะใส่ทีละน้อย เพราะจะทำให้ระยะเวลาในการผสมนาน อาจทำให้คุกกี้เหนียวได้ ควรแบ่งแป้งออกเป็น2-3ส่วน ใส่ทีละส่วน ผสมให้เข้ากันด้วยความเร็วตํ่าของเครื่อง
11.คุกกี้ที่ตีเสร็จแล้ว ถ้ามีลักษณะเหลวเกินไป อาจเติมแป้งได้เล็กน้อย แต่ต้องระวังเพราะถ้าเติมมากเกินไปก็จะทำให้คุกกี้จืดและมีลักาณะแข็ง
-ถ้าตีคุกกี้ข้นเกินไป อาจแก้ไขโดยการตีคุกกี้ขึ้นมาใหม่อีกสูตร ตีเนยกับนํ้าตาลให้นานขึ้นกว่าปกติ เพื่อให้คุกกี้มีลักษณะเหลวกว่าปกติ แล้วนำคุกกี้ที่แข็งมาผสมรวมกัน
12.เมล็ดถั่วต่างๆที่จะนำลงมาใส่คุกกี้ควรจะนำมาอบให้สุกและกรอบเสียก่อน ระยะเวลาในการอบคุกกี้นั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้เมล้ดถั่วสุกและกรอบได้
13.การหยอดคุกกี้ลงบนถาดควรเว้นระยะประมาณ1/2-1ซม. เพื่อให้คุกกี้ขยายตัวในระหว่างการอบ
14.คุกกี้ที่อบสุกแล้วควรแซะออกจากถาดทันที ถ้ารอให้คุกกี้เย็นในถาดจะทำให้แตกหักในระหว่างการแซะออกจากถาดได้
15.ลักษณะของคุกกี้เมื่อสุกแล้วจะมีสีสันสวยงาม เนื้อขนมมีลักษณะนุ่มเล็กน้อย ถ้าจับในลักษณะที่ยังร้อน แต่ถ้าปล่อยให้เย็นคุกกี้ก็จะมีลักษณะกรอบ
16.อุณหภูมิที่ใช้ในการอบคุกกี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 300 ํF หรือ 150 ํC มีแต่ไฟล่างระยะเวลาในการอบประมาณ 15-20 นาทีแล้วแต่ขนาดของขนม
17.ขนาดของขนมควรมีขนาดเท่าๆกันจะช่วยให้ขนมที่อบสุกมีสีสันสวยงามทั้งถาดถ้ามีชิ้นเล็กบ้างใหญ่บ้าง ชิ้นเล็กก็จะสุกก่อนชิ้นใหญ่เสมอ ทำให้เสียเวลาให้การแซะออกก่อน
18.คุกกี้ที่มีส่วนผสมของเนยมากจะนิ่มเร็วถ้าโดนอากาศ ดังนั้นเมื่อวางขนมจนเย็นแล้วควรเก็บใส่ถุงปิดสนิททันที ในขณะเดียวกันที่คุกกี้มีปริมาณของเนยน้อยก็จะนิ่มช้ากว่าแม้ว่าจะวางเอาไว้ด้านนอกกล่อง ปริมาณของเนยที่อยู่ในตัวขนมจะเป็นตัวดูดความชื้นจากอากาศ ยิ่งเนยมากก็ดูดความชื้นเร็ว
19.การหั่นคุกกี้แช่แข็ง ถ้าเอาออกมานอกตู้เย็นสักพัก จะทำให้หั่นได้ง่ายขึ้น ถ้าขนมเย็นจัดจะทำให้ขนม หั่นยากต้องออดกแรงมาก อีกทั้งบางชนิดของขนมแตกหักง่ายไม่สวยงาม
20.การอบคุกกี้แช่แข็งสามารถอบได้ทันทีไม่ต้องรอให้คุกกี้หายเย็น
21.การม้วนคุกกี้แช่แข็งเป็นแท่งกลมให้แน่น มิฉะนั้นคุกกี้จะมีรูกลวงตรงกลาง อาจใช้ไม้บรรทัดช่วยม้วนให้แน่นขึ้นได้
22.คุกกี้แช่แข็งนั้นสามารถทำล่วงหน้าเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน โดยเก็บในช่องแช่แข็ง แล้วค่อยๆ ทยอยนำออกมาอบขาย
23.คุกกี้ที่อบไว้เป็นเวลานานๆ กลิ่นของเนยอาจจะหายไปได้ดังนั้นการใส่กลิ่นนมเนยเพิ่มเข้าไปในกรณีที่ใช้มาร์การีนก็จะช่วยให้ขนมเก็บได้นานขึ้น
24.คุกกี้เป็นขนมที่สามารถเก็บได้นานเป็นเดือนจึงไม่มีความจำเป็นต้องใส่ยากันรา ควรปิดปากดถุงให้สนิท เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นเนยระเหยออกไป และทำให้ขนมกรอบได้นานขึ้น

แหล่งที่มา : http://www.horapa.com/content.php?Category=Bakery&No=385

วิธีการทำคุ้กกี้แฟนซี ( วานิลลา และ โกโก้ )

ส่วนผสมคุกกี้วานิลลา
แป้งสาลีอเนกประสงค์ร่อน 1 1/4 ถ้วย
ผงฟู 1/2 ช้อนชา
เกลือ 1/4 ช้อนชา
เนยเค็มหั่นชิ้นเล็ก 1/4 ถ้วย
น้ำตาลทรายป่น 3/4 ถ้วย
ไข่ไก่ตีพอเข้ากัน 1/2 ฟอง
วานิลลา 1/2 ช้อนชา
เนยขาวทาถาด


ส่วนผสมคุกกี้โกโก้ มีส่วนผสมเท่ากับส่วนผสมของคุกกี้วานิลลา แต่เพิ่มผงโกโก้ 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำคุกกี้วานิลา
- ร่อนแป้ง ผงฟู เกลือ เข้าด้วยกัน 2 ครั้ง พักไว้
- ตีเนยความเร็วปานกลาง จนขึ้นฟูเป็นสีครีมนวล ค่อย ๆ ใส่น้ำตาล ตีให้เข้ากัน ใส่ไข่ วานิลลา ผสมให้เข้ากัน
- ลดความเร็วต่ำสุด ค่อย ๆ ใส่แป้ง ตีพอเข้ากัน ปิดเครื่อง
- แบ่งแป้งเป็น 2 ส่วน คลุมพลาสติกหรือผ้าขาวบาง นำเข้าแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดา 30 นาที


วิธีทำคุกกี้โกโก้ 
- ร่อนแป้ง ผงโกโก้ ผงฟู เกลือ เข้าด้วยกัน 2 ครั้ง พักไว้ ขั้นตอนต่อไปทำวิธีผสมแบบเดียวกับคุกกี้วานิลลา แบ่งแป้งเป็น 2 ส่วน นำเข้าแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดา 30 นาที
นำแป้งออกจากตู้มาทำลวดลาย 2 ลาย
1. ลายเขาวงกต
คลึงแป้งคุกกี้วานิลลา 1 ส่วน ให้เป็นแผ่นหนา 0.5 ซม. คลุมด้วยกระดาษไข และคลึงแป้งคุกกี้โกโก้ 1 ส่วน ให้เป็นแผ่นหนาเช่นเดียวกับแป้งคุกกี้วานิลลา
นำแป้งทั้งสองชนิดประกบเข้าด้วยกัน คลีงแป้งเบา ๆ ให้ติดกันดี จากนั้นตัดแป้งให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว ม้วนแป้งคุกกี้เป็นแท่งกลม โดยให้แผ่นแป้งคุกกี้วานิลลาอยู่ด้านนอก จากนั้นเคาะแป้งคุกกี้ให้เป็นแท่งสี่เหลี่ยม กว้าง 1 1/2 นิ้ว ยาว 1 1/2 นิ้ว อีกครั้ง ห่อด้วยกระดาษไข นำเข้าแช่ในตู้เย็นช่องแข็งประมาณ 1 ชมหรือแช่ข้ามคืน

2. วิธีทำลวดลายตาหมากรุก
คลึงแป้งคุกกี้วานิลาที่เหลือหนา 0.5 ซม. ตัดเป็นเส้นกว้าง 1 ซม.ยาว 10 ซม. คลุมด้วยกระดาษไข นำส่วนแป้งคุกกี้โกโก้ที่เหลือทำแบบเดียวกับแป้งคุกกี้วานิลลา
นำแป้งทั้งสองชนิดมาวางเรียงสลับกัน 4 ชิ้น จะได้ 1 แผ่น ทำอย่างนี้จนครบ 4 แผ่น แล้วนำมาซ้อนกันให้ได้ 4 ชั้น จากนั้นเคาะแป้งคุกกี้ให้เป็นแท่งสี่เหลี่ยมให้ติดแน่นเข้ากันดีอีกครั้ง ห่อด้วยกระดาษไขให้แน่น นำเข้าแช่ในตู้เย็นช่องแข็ง 1 ชม.หรือแช่ข้ามคืน


นำแป้งคุกกี้ออกจากตู้เย็น พักให้คลายตัว ตัดคุกกี้เป็นชิ้นหนาประมาณ 1 ซม. วางในถาดห่างกัน 1 นิ้ว นำเข้าเตาอบอุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ประมาณ 15-20 นาที หรือจนสุกเหลืองทั่ว 




แหล่งที่มา :  http://www.pantown.com

เรื่องเกี่ยวกับคุ้กกี้


        คุกกี้ คือขนมอบชิ้นเล็กๆ รูปร่างแบน ซึ่งทำจากแป้งสาลี คำว่าคุกกี้มีที่มาจากคำในภาษาดัตช์ koekje ซึ่งหมายถึง "เค้กชิ้นเล็กๆ" แรกเริ่มเดิมทีนั้น คุกกี้ทำโดยการแบ่งแป้งขนมเค้กที่ผสมแล้วออกมาส่วนหนึ่ง จากนั้นแบ่งออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำเข้าเตาอบ เพื่อทดสอบอุณหภูมิที่จะใช้อบขนมเค้ก คำว่า "คุกกี้" (cookie) ใช้กันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกขนมแบบเดียวกันนี้ว่า "บิสกิต" (biscuit)

ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่อีกประเภทหนึ่งซึ่งเราค่อนข้างจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีเพราะ เป็นขนมที่มีกรรมวิธีการทำที่ง่าย รสชาติอร่อย หอม หวานมัน และที่สำคัญคือความกรอบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของขนมประเภทนี้ และสามารถเก็บเอาไว้ได้ในระยะยาว นิยมที่จะใช้เป็นของขวัญในวันปีใหม่ หรือเทศกาลต่าง ๆ นั้นก็คือ คุกกี้ (
Cookies) นั่นเอง คุกกี้เป็นเบเกอรี่ที่มีส่วนผสมคล้ายคลึงกับเค้กคือ ประกอบด้วย แป้ง, เนย, นม, ไข่ และสิ่งที่ช่วยให้ขึ้นฟูอื่นๆ แต่จะมีส่วนผสมของ ของเหลวน้อยกว่าและแตกต่างกับเค้กตรงที่ใช้แป้งที่มีปริมาณโปรตีนสูงกว่าเค้ก แต่น้อยกว่าขนมปัง แป้งที่ว่าก็คือ แป้งสาลีเอนกประสงค์ คุกกี้ที่เราเห็นกันอยู่นั้นสามารถแบ่งตามลักษณะของรูปร่างที่ทำได้คือ
1. คุกกี้หยอด เป็นคุกกี้ที่ใช้ช้อนตักหยอดเป็นรูปร่างต่างๆ หรือใส่กรวยที่มีหัวบีบ ตกแต่งหน้าด้วยเชอรี่หรือลูกเกด เช่น คุกกี้นมสด คุกกี้เนย คุกกี้กุ้งแห้ง คุกกี้เม็ดมะม่วง ฯลฯ
2. คุกกี้ม้วน เป็นคุกกี้ที่มีส่วนผสมค่อนข้างอยู่ตัว สามารถนำมารีดเป็นแผ่นวางลวดลายต่างๆ หรือม้วนเป็นวงกลม คุกกี้ชนิดนี้ต้องนำเข้าแช่ในตู้เย็นจนแข็ง จึงนำออกมาตัดเป็นแว่นๆ วางบนถาดที่ทาไขมัน แล้วนำเข้าอบ เช่น คุกกี้แฟนซี คุกกี้ผลไม้ ฯลฯ
3. คุกกี้กด เป็นคุกกี้ที่มีความเข้มข้นมาก หรือลักษณะของแป้งค่อนข้างอยู่ตัว นำมารีดเป็นแผ่น กดด้วยพิมพ์ วางบนถาดที่ทาไขมัน นำเข้าอบ เช่น คุกกี้สิงคโปร์ คุกกี้หน้าทอฟฟี่ ฯลฯ
4. คุกกี้ที่มีคุณภาพทางอาหารสูง เป็นคุกกี้ที่มีการเติมส่วนผสมที่มีคุณค่าต่อร่างกาย เช่น ธัญพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวโอ๊ต คอร์นเฟลค ผลไม้แห้ง หรือผลไม้อื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

คุกกี้ เป็นขนมที่ทานง่าย มีลักษณะ รสชาดหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ และสามารถขายได้ในราคาที่ย่อมเยา กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจึงเป็นคนทุกระดับ ทุกผู้ทุกวัย และยังเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนส่วนใหญ่ ในการรับประทานทั้งเป็นอาหารว่าง, การจัดเลี้ยง และเป็นของฝากที่เหมาะสมในเทศกาลต่างๆ    ได้หลายเทศกาล เช่น เทศกาลปีใหม่, วาเลนไทน์, วันเกิด ฯลฯ เพราะ คุกกี้มีหน้าตาสวยงาม      น่ารับประทาน และสามารถเก็บไว้ได้นานพอสมควร ไม่เน่าเสียได้ง่าย จึงเหมาะกับการนำมาเป็นของฝากอย่างยิ่ง อีกทั้งคุกกี้ยังใช้ประดับ ตกแต่งหน้าเค้ก ไอศกรีม น้ำแข็งไส สินค้าก็เลยขายได้ทั้ง 2 กลุ่ม คือ ขนมทานเล่น กับวัสดุตกแต่งเบเกอรี่       

     กรรมวิธีในการทำคุกกี้ โดยส่วนใหญ่เริ่มจากการตีเนยกับน้ำตาลให้ขึ้นฟู ระยะเวลาในการตี มีผลต่อการขึ้นฟูของคุกกี้เหมือนกัน โดยปกติแล้วคุกกี้ที่ใช้เนยตีกับน้ำตาล เราอาจไม่จำเป็นต้องใส่ผงฟูก็ได้ ถ้าตีเนยกับน้ำตาลจนขึ้นฟูเพียงพอ แต่ถ้าใช้ระยะเวลาในการตีนานเกินไป คุกกี้ที่อบออกมาจะแผ่ตัวมากในระหว่างการอบ ซึ่งจะทำให้คุกกี้เปราะแตกง่าย  ในขณะเดียวกันถ้าตีเนยกับน้ำตาลน้อยเกินไป คุกกี้ที่ได้จะบีบยาก เมื่ออบออกมาก็จะมีลักษณะกรอบแข็ง ฉะนั้นในการทำคุกกี้อาจจะคิดว่าทำง่าย แต่จริงๆ แล้วก็ต้องอาศัยความชำนาญเหมือนกัน จึงจะทำให้ขนมออกมาดี    ทุกครั้ง อุณหภูมิในขณะที่ทำก็มีส่วนเช่นกัน ถ้าร้อนเกินไปก็จะทำให้เนยเหลว เวลาตีจะไม่จับอากาศเท่าที่ควร ความเร็วของเครื่องในการตี และน้ำตาลที่ใช้ทำ ระหว่างน้ำตาลทรายกับน้ำตาล ไอซิ่ง ก็ทำให้ลักษณะของขนมที่ได้แตกต่างกัน คุกกี้ที่ทำจากน้ำตาลทรายเนื้อจะหยาบ กรอบร่วนกว่า คุกกี้ที่ใช้น้ำตาลไอซิ่ง ซึ่งจะได้ขนมที่กรอบแข็งกว่าน้ำตาลทราย ในขณะเดียวกันก็จะหวานน้อยกว่า ฉะนั้นการเลือกน้ำตาล ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ทำเองว่า ต้องการคุกกี้ลักษณะแบบไหน

    หลังจากการตีเนยกับน้ำตาลจนขึ้นฟูแล้วจึงใส่ไข่ไก่ ตีจนเข้ากันจึงใส่แป้ง ค่อยๆ ตะล่อมให้เข้ากัน อย่าผสมนานเกินไปจะทำให้คุกกี้เหนียว จากนั้นจึงใส่ผลไม่อื่นตามใจชอบ แล้วจึงนำไปหยอดบนถาด นำเข้าเตาอบ การใช้ไฟในการอบส่วนมากจะอยู่ระหว่าง 300-350 องศาฟาเรนไฮต์ ถ้าต่ำมากกว่านี้จะทำให้คุกกี้ขยายตัวมากเกินไป อละอบจนกระทั่งคุกกี้สุกเหลือง

                 

 แหล่งที่มา :  http://women.sanook.com/work/108jobs/108jobs_34834.php          
                     www.sakid.com/2006/10/26/4488/
                     www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-2/no38/bakery/index4.htm

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิธีการทำเค้กสตอเบอร์รี่ชีสเค้ก


ส่วนผสมครัสท์
1.เกรมแคร้กเกอร์ (graham cracker) 1 1/2 ถ้วย
2.น้ำตาลทรายแดง 2 ชต.
3.เกลือ 1/8 ชช.
4.เนยละลาย 5 ชต.


วิธีทำ
1.ผสมของแห้งทุกอย่างรวมกัน ละลายเนยให้เหลว แล้วเทลงในอ่างแกรมแคร้กเกอร์
ใช้ไม้พายคนส่วนผสมเข้าด้วยกัน คนไปเรื่อยๆจนกระทั่งส่วนผสมร่วนเป็นทรายไม่เกาะกันเป็นก้อน
2.เอาเนยทาที่ก้นพิมพ์ไว้ก่อน พอส่วนผสมเรียบร้อยก็เอามากรุก้นพิมพ์ใช้มือกดๆให้เรียบแน่นหน่อย จากนั้นก็เอาพิมพ์นี้ไปใส่ตู้เย็นให้ส่วนผสมแข็งจับตัวกัน ซัก 10-12 นาที แล้วก็เอาไปอบใช้ไฟ 350 องศาฟาเรนไฮต์ อบเสร็จแล้วก็พักไว้ก่อน แล้วเราก็ไปทำตัวชีสเค้กกันก่อน


ส่วนผสมตัวชีสเค้ก
1.ครีมชีสขนาด 8 ออนซ์ 3ก้อน
2.น้ำตาล 1 1/4ถ้วย
3.วานิลา extract 1/4 ชช
4.ไข่ ทั้งฟอง 3 ฟอง
5.ไข่แดง 1 ฟอง
6.เฮฟวี่ครีม 1/3 ถ.
7.sour cream 1/3 ถ.
8.ผิวเลมอน หรือใช้แต่ เลมอนแอ๊คแทรคก็ได้ 1/4 ชช





มาเริ่มทำตัวเค้กกันต่อ1.เอาครีมชีส ต้องวางไว้ให้หายเย็นก่อน อุณภูมิห้องตามตำรา ใส่ชามอ่างแล้วตีให้เนียนอย่าตีนานมากเกินไป พอตีเนียนดีแล้ว เอาน้ำตาลใส่ลงไปตีใส่น้ำตาลทีละ 1/3ถ้วย ตีไปจนน้ำตาลหมด ใช้พายยางปาดๆขอบอ่างด้วย
2.ต่อไปใส่ไข่ ใส่ทีละฟอง ความเร็วของเครื่องที่ใช้ตีนี้ปานกลางค่อนข้างต่ำ
3.จากนั้นก็ใส่เฮฟวี่ครีม sour cream วานิลา เลมอนแอ๊คแทรค ตีให้เข้ากัน ตอนที่ตักส่วนผสมให้เข้ากันนี้ ทำๆหยุดๆด้วย ใช้พายยางปาดตรงก้นขึ้นมาด้วย เผื่อมีครีมติดอยู่ก้นโถ ลืมบอกไปว่าถ้าหาsour cream ไม่ได้ให้ใช้โยเกิร์ตรสธรรมชาติแทนได้
4.เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วก็เทใส่พิมพ์ขนาด 9 นิ้ว อย่าลืมทาขอบๆพิมพ์ด้วยเนย เอาใส่เตาอบชั้้นกลางของเตาอบ อบนาน 55 นาทีถึง 1 ชม.พออบเสร็จอย่าเพิ่งด่วนเอาชีสเค้กออกจากเตาอบ แค่ปิดเตาอบ แล้วแง้มๆเตาอบเปิดไว้นานประมาณ 1 ชม.ก่อนที่จะเอาเค้กออกมาตั้งข้างนอกให้อยู่ในอุณหภูมิห้องอีกที หน้าเค้กจะได้ไม่แตก พอพักไว้เย็นอุณหภูมิห้องแล้วก็เอาใส่ตู้เย็นไว้ ให้เค้กอยู่ตัวอีก อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนจะตัดเค้กมาทาน


ประวัติของขนมเค้ก


     Cake มีรากศัพท์มาจากภาษาของชาวไวกิ้ง (Old Norse word) ว่า "kaka" ประวัติเริ่มจากปี 1843 คุณอัลเฟรดเบิร์ด (Alfred Bird 1811-1878) นักเคมีชาวอังกฤษ ได้ค้นพบ "ผงฟู" หรือ"baking powder"ทำให้เขาสามารถทำขนมปังชนิดที่ไม่มียีสต์ให้กับภรรยาของเขาคือ อลิซาเบธ (Elizabeth) ได้เป็นครั้งแรก เนื่องจากภรรยาของเขานั้น เป็นโรคภูมิแพ้เกี่ยวกับ ..ไข่ และ ยีสต์...


     ย้อนหลังจากวันนี้ไปประมาณ 60 ปี ธุรกิจขนมอบไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน จนไม่อาจเรียกว่าเป็นธุรกิจได้ ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ ก็ไม่ได้เป็นที่คุ้นเคยของทุกคนทั่วไป จะมีก็เพียงคนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับอารยธรรมตะวันตกมาก่อนและผู้ที่มีความใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยที่รู้จักขนมอบ และมีร้านขนมอบเพียงไม่กี่ร้าน เช่น ร้านมอนโลเฮียงเบเกอรี่ ย่านถนนเจริญกรุงเท่านั้น เพราะธุรกิจขนมอบในสมัยนั้นแคบมาก ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ต่อมาคนไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ เริ่มรู้จักขนมอบมากขึ้นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลงประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักของประเทศต่างๆมีการติดต่อค้าขายที่ธุรกิจกับต่างประเทศมากขึ้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาเมืองไทย ทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวทำให้ธุรกิจการโรงแรมของประเทศไทยขยายตัวจึงต้องผลิตอาหารประเภทขนมอบชนิดต่าง ๆ ขึ้น เช่นขนมปัง เค้ก เพสตรี้ เพื่อบริการลูกค้าชาวต่างประเทศที่ไม่คุ้นเคยอาหารไทยและนอกจากจะผลิตเพื่อบริการลูกค้าแล้วโรงแรมยังมีบริการรับจัดเลี้ยง ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน โดยมีการจัดประชุมสัมมนา งานพิธีมงคลสมรส งานวันเกิด และการจัดเลี้ยงสังสรรค์


     ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์ขนมอบจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีร้านเบเกอรี่ที่ผลิตขนมปัง ขนมเค้ก ขนมต่าง ๆ ออกขาย ธุรกิจ ขนมอบเริ่มจัดว่าเป็นธุรกิจได้เมื่อสมัยสงครามเวียดนาม ประมาณ 30 กว่าปีมาแล้วประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นที่พักของทหารอเมริกันระยะนี้กิจการขนมอบเริ่มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากความต้องการอาหารประเภทนี้สูงจนถึงกับมีผู้คิดโรงโม้แป้งสาลีขึ้นในประเทศไทยคือบริษัทยูไนเต็ดพลาวมิล์ ได้ผลิตแป้งสาลีเพื่อใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ขนมอบ และส่งมาได้มีโรงโม่แป้งสาลีเพิ่มขึ้นอีก 23 แห่งได้แก่บริษัทสยามฟลาวมิลล์ บริษัทแหลมทองสหการ แต่ละโรงไม่ก็ผลิตแป้งสาลียี่ห้อต่าง ๆ ออกจำหน่ายพร้อมกับมีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า จัดการฝึกอบรมแนะนำลูกค้าผู้ใช้แป้งสาลีและผู้ประกอบกิจการขนมอบซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้สามารถนำแป้งไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความถูกต้อง นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แป้งสาลีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง ธุรกิจขนมอบก็ยังดำเนินต่อไป และกับขยายตัวเพิ่มมากขึ้น คนไทยเริ่มบริโภค ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ พาย พัฟ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขนมอบมากขึ้นนักธุรกิจหลายรายได้เริ่มมองเห็นลู่ทางในการลงทุนทำธุรกิจขนมอบนี้ เนื่องจากเห็นว่าผลิตภัณฑ์ขนมอบมากขึ้นนักธุรกิจหลายรายได้เริ่มมองเห็นลู่ทางในการลงทุนทำธุรกิจขนมอบนี้ เนื่องจากเห็นว่าผลิตภัณฑ์ขนมอบได้เข้ามามีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานต่าง ๆ เช่น วิทยาลัยสารพัดช่างวิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนของเอกชนที่เปิดสอนด้านขนมอบ เป็นต้น ได้ช่วยกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนมอบมากขึ้น พร้อมกันมีตำราการฝึกปฏิบัติทำขนมอบ มีประชาชนให้ความสนใจมาฝึกอบรม รับความรู้เพื่อไปประกอบเป็นอาชีพ หรือทำบริโภคเองภายในครอบครัว

แหล่งที่มา : http://anycake.igetweb.com/?mo=3&art=591837